บทความผู้เขียน

1. ประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของข้าพเจ้าและแนวคิดการเรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว 
 เขียนจากประสบการณตรงและจากการศึกษาวิจัยเชิงต่อยอดงานวิจัยของ ดร.เจมาร์วิน บราวน์และ ศาสตราจารย์ ไมเคิล อูลมานน์  (กำลังอัพเดทข้อมูล)
2. การปฏฺวัติการศึกษาของโลกแห่งอนาคต ไทยจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับสถานการณ์
 ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี่กำลังจะทำให้การศึกษาของโลกทั้งโลกเปลี่ยนไปแบบพลิกแผ่นดิน ลกจะก้าวไปสู่จุดไหนเมื่อความแตกต่างทางด้านความรู้และเศณษฐกิจอย่างเช่นในปัจจุบันนี้   (กำลังอัพเดทข้อมูล)
3. รัฐประศาสนศาตร์และรัฐศาสตร์ในมุมมองของข้าพเจ้า 
              รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration   หรือ  political and administrative science เป็นวิชาว่าด้วยการบริหารและการปกครองรัฐ(ท้องถิ่น-ส่วนกลาง)เพื่อให้ได้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณสูงสุด  สถาบันการศึกษาบางแห่งใช้คำว่าการบริหารรัฐกิจ  พูดง่ายๆก็คือวิชาว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินนั่นเอง  จะเป็นแผ่นดินที่มีงบประมาณเล็กๆ ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากส่วนกลางอยู่ตลอดเวลา หรือท้องถิ่นที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้บริหารโดยเงินที่มาจากการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ในหลายระดับชั้นอาทิเช่น  องค์การบริหารส่วนตำบล  เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร หรือเขตปกครองพิเศษเช่นกรุงเทพหรือพัทยา ก็ว่ากันไปครับ
วิชานี้กล่าวรวมๆคือเป็นวิชาว่าด้วยการรับใช้สาธารณะ ในทุกๆรูปแบบ นับตั้งแต่การจัดเก็บภาษี การฝังเมือง การประชากร ฯลฯ มีคำจำกัดความที่ให้ไว้เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์กันอยู่มากมายหลายความหมาย อาทิเช่น รัฐประศาสนศาสตร์เป็นโปรแกรมสาธารณะที่ว่าด้วยเรื่องการจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ฯลฯ แต่ในความเห็นของผู้เขียนได้ให้คำจัดกัดความว่า รัฐประศาสนศาสตร์หมายถึงการบริหารจัดการรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดภายใต้นโยบายทางการเมือง
                หลายท่านอาจมีความเห็นที่แตกต่าง แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่า ทั้งสองเรื่อง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จะต้องไปด้วยกันแบบฝาแฝดอิน-จัน เหตุผลเพราะว่าการเมืองเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร การบริหารราชการต้องสอดคล้องกับทิศทางทางการเมืองบนผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน   
มีนักรัฐศาสตร์-รัฐประศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังผู้หนึ่ง ชื่อว่า ศาสตราจารย์ แมรี อี กาย แห่ง Askew School of Public Administration & Policy  - Florida State University       ซึ่งเป็นอดีต president of Southern Political Science Association , President  of  American Society for Public Administration  และอีกหลายๆตำแหน่งทางวิชาการ. ท่านได้ให้ความเห็นซึ่งอ้างอิงไว้ในงานดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ “PUBLIC ADMINISTRATION AND POLITICAL SCIENCE” ของ HIBA KHODR  แห่ง The Askew School of Public Administration and Policy กล่าวเอาไว้ สรุปความว่า “ใครก็ตามที่พยายามแยกรัฐประศาสนศาสตร์ ออกจากรัฐศาสตร์เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง”
                ความจริงแล้วผมไม่อยากอ้างอิงงานวิจัยของนักวิชาการท่านใดโดยไม่จำเป็น มันดูเหมือนกับว่าเราพยายามอ้างอิงงานของผู้อื่น เพื่อทำให้ตัวเองดูดีขึ้น ยิ่งอ้างอิงคนใหญ่คนโตในแวดวงวิชาการ ยิ่งได้เครดิต ยิ่งน่าเชื่อถือ  แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นในแวดวงวิชาการทั้งนี้เพื่อป้องกันการแอบ อ้างเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตัวเอง ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในแวดวงวิชาการ   ในความเห็นของผม ผมคิดว่า การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ทางสังคมศาสตร์น่าจะทำวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนใหญ่ของนักวิชาการในแต่ละ สถาบันการศึกษาด้วย เนื่องเพราะวิสัยทัศน์ มุมมอง และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันนั่นเอง
งานวิจัยบางอย่างในทางรัฐประศาสนศาตร์ เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาหรือตอบโจทย์ในจุดหรือสถานที่ทำการวิจัยเล็กๆเท่า นั้น  ไม่ได้เป็นภาพกว้างดังเช่นรัฐศาสตร์ ไม่ได้เกิดแนวคิดทฤษฏีใหม่ๆในทางวิชาการแต่อย่างใดที่ชัดเจน และไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างใหญ่หลวงแบบแนวคิดทางรัฐศาสตร์
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นการเคลื่อนตัวของทิศทางนโยบายทางการเมืองสู่วิธีการ ปฏิบัติ ประชาชนสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลในระดับ ต่างๆ  ซึ่งอาจจะเป็นการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะไปในตัวด้วย ฯลฯ
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศูนย์กลางขององค์กรภาครัฐทุกส่วนที่ขับเคลื่อนเพื่อบริการให้แก่ประชาชน   เป็นแหล่งรวมนโยบายของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนถึงรัฐบาลกลาง  ตามโครงการต่างๆใน แผนระยะยาว ระยะกลาง ระยะสั้น ตลอดจนแผนเร่งด่วนของหน่วยงานราชการทั้งหลาย นอกจากนี้  รัฐประศาสนศาตร์ยังเป็นศาสตร์ที่ศึกษารวมถึงพฤติกรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย  ซึ่งส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นข้าราชการที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งแบบนักการเมือง  
                ข้าราชการประจำเป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหารรัฐโดยภาพรวม ตามหลักวิชาการ  ส่วนนักการเมืองเป็นผู้กำหนดทิศทางของแผนในระยะต่างๆโดยให้สอดคล้องกับความ ต้องการของเจ้าของภาษีละสภาพแวดล้อมทางการเมืองของท้องถิ่น การเมืองระดับประเทศ และการเมืองระดับโลก  
                ผู้รับใช้สาธารณะหรือข้าราชการ อันได้แก่ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดเทศบาล ปลัดอำเภอ ปลัดจังหวัด และปลัดกระทรวง โดยมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานภายใต้สังกัด  เป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายฝ่ายการเมืองให้ไปสู่ความสำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อประชาชนตามบทบาทและหน้าที่
                ในสหรัฐอเมริกา อดีตประธานาธิบดี Woodrow Wilson สนับสนุนให้มีการปฏิรูปการบริการประชาชนในปี ค.ศ. 1880   และผลักดันให้รัฐประศาสนศาสตร์ ศาสตร์จากแนวทางปฏิบัติให้เป็นศาสตร์ในแนวทางวิชาการ  อย่างไรก็ตาม Max Webber นักสังคมวิทยาชื่อดังของเยอรมันกล่าวไว้ใน ทฤษฏีที่เกี่ยวกับการบริหารราชการของเขาว่า “ไม่มีอะไรที่น่าสนใจมากในทฤษฏีเกี่ยวกับทางรัฐประศาสนศาสตร์”
                รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์รวมของสาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐ ซึ่งประกอบด้วยหลักใหญ่ๆดังต่อไปนี้  1. ทรัพยากรมนุษย์(Human resource)2. ทฤษฏีองค์การ(organizational theory) 3. นโยบาย(policy) 4. การวิเคราะห์ (analysis) 5. สถิติ(statistics)  6. การงบประมาณ(budgeting) และ 7. หลักศีลธรรม(ethics)
                นักวิชาการบางท่านกล่าวอ้างว่า รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่ได้รับการยอมรับในคำจำกัดความในเชิงวิชาการ  เหตุผลเพราะว่า ขอบเขต(scope)ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เป็นเรื่องใหญ่ที่ครอบคลุมหลากหลายสาชาวิชา และสามารถถกเถียงกันได้ในหลายมุมมองแบบไม่มีข้อยุติ มากกว่าจะเป็นคำจำกัดความ(define) แบบวิชารัฐศาสตร์ นักวิชาการชื่อดัง  Donal Kettl เป็นผู้หนึ่งที่มองว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์
                อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่งมีความเห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์ควรแยกออกจากรัฐศาสตร์ เหตุผลเพราะว่ารัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาชีพ มากว่าเป็นวิชาการในแนวทางทฤษฏีแบบรัฐศาสตร์  ในความเห็นของผู้เขียนคิดว่า การที่นักวิชาการหลายท่านมีความเห็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะว่า รัฐประศาศนศาสตร์ควรเป็นสาขาวิชาที่ตั้งมั่นในหลักการทางวิชาการมากกว่าการ ตอบสนองความต้องการทางการเมือง ของนักการเมือง  นโยบายทางการเมืองสามารถพลิกผันได้ทุกวินาที ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆฯลฯ
                จากมุมมองทางด้านวิชาการของ  The National Center for Education Statistics(NCES) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความ รัฐประศาสนศาสตร์เอาไว้ว่า “รัฐประศาสนศาสตร์เป็นโปรแกรมที่ตระเตรียมบุคคลากรเพื่อการบริหารรัฐในรัฐบาลท้องถิ่น  และรัฐบาลกลาง
                ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เห็นว่า รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการบริหารที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนใน องค์กร เราพบเห็นอยู่เสมอๆว่า งานวิจัยบางชิ้นสามารถตอบโจทย์ทางการวิจัยในสถานที่ทำการวิจัยแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ในสถานที่อื่นๆในบริบทเดียวกัน เนื่องเพราะผู้ปฏิบัติเป็นคนละคนกัน ฐานคิดคนละฐาน ฐานความรู้คนละแหล่ง ฐานข้อมูลไม่เหมือนกัน ตลอดจนวิสัยทัศน์และ ประสบการณ์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน    นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ทฤษฏีทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ไม่ได้รับการยอมรับ กันอย่างกว้างขวางดังเช่นวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์
                โดยความเป็นจริงแล้ว รัฐประศาสนศาสตร์อยู่คู่กับรัฐศาสตร์มาตั้งแต่ช้านานตั้งแต่สมัยโบราณกาล  ในอดีตกาล มนุษย์ในยุคหิน ที่เริ่มจากยุคต่างคนต่างอยู่ ถ้ำใครถ้ำมัน  ต่างคนต่างทำมาหากิน ต่อมาได้ขยายเผ่าพันธุ์ จนมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นชุมชน  การรวมกลุ่มของคนในอดีตอาจเนื่องมาจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยส่วนตน ปัญหาเรื่องปากท้อง ฯลฯ  การมาอยู่รวมกันเป็นชุมชนต้องมีผู้ปกป้องชุมชน ซึ่งเราเรียกกันว่าหัวหน้าชุมชน หัวหน้าเผ่า  หัวหน้ารัฐใดรัฐหนึ่ง  หรือกษัตริย์ แล้วแต่จะเรียกขาน  เมื่อรัฐใดมีการจัดการด้านบริหารรัฐที่ดี  ประชาชนขวัญกำลังใจดี  มีการจัดเก็บภาษีได้มาก  เหลือเฟือ ก็ทำให้รัฐนั้นเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นไปเรื่อยๆ  ต่อจึงมีการสะสมกำลังพลและอาวุธยุทธโธปกรณ์เพื่อป้องกันผลประโยชน์และ พลเมืองในรัฐเป็นพื้นฐาน  กาลเวลาต่อมาผู้ปกครองรัฐบางคนอาจมีความทะเยอทะยาน อยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาล  อยากได้รัฐอื่นมาเป็นบริวาร ทั้งนี้เพื่อสะสมผลประโยชน์และการกระจายผลประโยชน์ไปสู่วงค์วานว่านเครือ การขยายรัฐ การตีเมืองขึ้นและส่งลูกหลานตนเองไปครองแผ่นดินที่ยึดครอง ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ปกครองรัฐตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน  
การ บริหารรัฐเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้รัฐดำรงอยู่ได้ตามนโยบายของฝ่าย การเมืองที่กุมอำนาจรัฐ  การเมืองเป็นที่มาของการบริหารที่ดีหรือเลว ดังนั้นในความเห็นของผู้เขียนเห็นว่า  รัฐประศาสนศาสตร์ต้องเดินความคู่ไปกับรัฐศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทาง ปฏิบัติตามความเป็นจริง  หากใครพยายามแยกรัฐศาสตร์ออกจากรัฐประศาสนศาสตร์แสดงว่าไม่เข้าใจอย่าง ชัดเจนลึกซึ้งในเรื่องรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ที่กล่าวถึง (อำนาจรัฐ(State Power) การใช้อำนาจรัฐ(The use of State Power)และการบริหารรัฐ(State Administration)
                อย่างไรก็ตามรัฐประศาสนศาตร์และรัฐศาสตร์มักมีความขัดแย้งในแนวคิดอยู่เสมอ มา  นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี ที่มีความคิดขัดแย้งกัน  แต่นักวิชาการตลอดจนประชาชนทั่วๆไปหลายท่านยังเชื่อว่าความขัดแย้งเป็น เรื่องที่เสียหายต่อการบริหารรัฐ
ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ความขัดแย้งในเรื่องการใช้อำนาจ และการบริหารรัฐตามกฎระเบียบและ ตามหลักวิชาการเป็นเรื่องที่ดี และถือว่าเป็นหัวใจสำคัญสูงสุดของการบริหารรัฐ  เหตุผลเพราะว่า หากฝายการเมือง(นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน)และเจ้าหน้าที่ของรัฐ(ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน)ขัดแย้งกัน ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดำเนินการใดๆที่ไม่สุจริตและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ข้อมูลต่างๆจะหลั่งไหลลงสู่สาธารณะชนได้มาก ถึงมากที่สุด และจะเกิดการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งสองฝ่ายจากประชาชนในท้ายที่สุด   ผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยกับนักวิชาการหลายท่านที่มีความเห็นว่าฝ่ายการเมืองและฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ(ข้าราชการ)ต้องเป็นเอกภาพ มีน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการบริการประชาชนและจัดทำโครงการสาธารณะต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษีของประชาชน
 ในเรื่องนี้มีทั้งข้อดีข้อเสีย
1. หากเรื่องที่ฝ่ายรัฐทั้งข้าราชการฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ดำเนินการไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีนอกมีใน มีผลประโยชน์เป็นส่วนตน ส่วนกลุ่ม ส่วนพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี  น่าสนับสนุน ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด
2. แต่ถ้าหากว่าฝ่ายข้าราชการประจำและฝ่ายการเมืองผู้กุมนโยบายรัฐ มีเอกภาพ มีความสามัคคีกัน  แต่กลับดำเนินการใดๆที่เป็นผลเสียหายต่อรัฐและประชาชน ก็จะไม่มีใครไปตรวจสอบข้อเท็จจริง  เพื่อมาตีแผ่ให้ ประชาชนได้ทราบอย่างชัดเจน 
 จริง อยู่ ถึงแม้ว่าในสภาฯ จะมีการตรวจสอบโดยฝ่ายค้าน แต่เอกสารทางราชการ ที่เป็นเรื่องลับ จะถูกปกปิดจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้าย  กว่าประชาชนจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็สายเกินไปเสียแล้ว   เกิดผลเสียหายและผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ดังที่ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมในประเทศไทยและทั่วโลก

ดร.วิชญ์พล  ผลมาก
ผู้เขียน